เพลงแอ่วพะเยาม่วนใจ๋
สถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา
วัดศรีโคมคำหรือวัดพระเจ้าตนหลวง
วัดศรีโคมคำ หรือวัดพระเจ้าตนหลวง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญได้สร้างมานานพร้อมกับการสร้างพระเจ้าตนหลวง เมื่อประมาณ พ.ศ.2034 โดยอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ และพระยาเมืองตู้ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา ในสมัยนั้นเจ้าอาวาสองค์แรกที่ปรากฎในตำนาน คือ พระธรรมปาล ท่านผู้นี้ได้ทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่คือ ได้เขียนตำนานพระเจ้าตนหลวงออกเผยแพร่แก่ประชาชนอยู่ต่อมาอีกประมาณ 404 ปี จุลศักราช 1219 (พ.ศ. 2400) พระกัปปินะ เป็นเจ้าอาวาสอีกครั้งหนึ่ง มีบันทึกหนังสือสมุดข่อยไว้ว่า แสนทักษิณะเยนดวงชะตาพระเจ้าตนหลวง มีพระธรรมปาลเขียนไว้มาให้ท่านได้รับทราบว่าวัดศรีโคมคำเป็นวัดมาแต่โบราณกาล แต่มาในยุคหลังๆ บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะสงคราม ทำให้บ้านเมืองอยู่ไม่เป็นปกติสุขต้องอพยพโยกย้ายไปอยู่ตามหัวเมืองที่ปลอดภัยจากข้าศึก ทำให้บ้านเมือง วัดวาอารามรกร้างว่างเปล่าไป ต่อมาภายหลังได้สถาปนาเมืองพะเยาขึ้น บ้านเมืองก็ดี วัดวาอารามก็ดี ก็ได้รบการบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ตามลำดับ
วัดศรีโคมคำได้เริ่มก่อสร้างพระวิหารครั้งหลังสุดเมื่อ พ.ศ. 2465 พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทางฝ่ายบ้านเมืองคือ พระยาประเทศอุดรทิศ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา และหลวงสิทธิประศาสน์ (คลาย บุษบรรณ) นายอำเภอเมืองพะเยา คนแรกร่วมกันไปอาราธนาท่านครูบาศรีวิชัย จากจังหวัดลำพูนมาเป็นประธาน นั่งหนักในการก่อสร้างพระวิหารหลวงและเสนาสนะต่างๆ จำสำเร็จบริบูรณ์ โดยพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ เป็นองค์แรก ปัจจุบันพระธรรมวิมลโมลี (ปวง ธมฺมปญฺโญ) ได้ดำรงตกแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม2511 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2523
พระเจ้าตนหลวง เป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสนที่ใหญ่ที่สุดในล้านนา ขนาดหน้าตักว้าง 14 เมตร สูง 16 เมตร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2034-2067 ชาวพะเยาถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ในเดือนหก (ประมาณพฤษภาคม) จะมีงาน นมัสการพระเจ้าตนหลวง เดือนแปดเป็ง” จะมีประชาชนในจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก
พระอุโบสถกลางน้ำ พระอุโบสถหลังใหม่ของวัดศรีโคมคำ ตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา เป็นศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ สร้างขึ้นโดยศรัทธาประชาชน ซึ่งบริษัท มติชนจำกัด ดดยคุณขรรค์ชัย บุนปาน เป็นผู้ประสานงาน คุณนิยม สิทธหาญ มัณฑนากรจากมหาวิทยาลัยศิลปกร และคุณจินดา สหสมร สถาปนิกจากจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยร่วมกันออกแบบ
จิตรกรรมฝาผนัง เขียนโดยคุณอังคาร กัลยาณพงษ์ และคุณภาพตะวัน สุวรรณกูฏ และทีมงาน
กว๊านพะเยา
กว๊านพะเยา อยู่ในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือ และ อันดับ 3 ของประเทศไทย (รองจาก หนองหาน และ บึงบอระเพ็ด) คำว่า "กว๊าน" ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง" เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากหลัง เกิดจากน้ำที่ไหลมาจากห้วยต่างๆ 18 สาย มีปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ 29.40 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพันธ์ปลาน้ำจืดกว่า 48 ชนิด มีเนื้อที่ 12,831 ไร่ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาต่างๆ ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา มีส่วน ทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ที่สวยงามประทับใจผู้พบเห็น จนอาจจะกล่าวได้ว่าหัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่กว๊านพะเยานี่เอง ริมกว๊านพะเยาเป็นร้านอาหารและสวนสาธารณะให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจ กว๊านพะเยาในอดีตแต่เดิมเคยเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมีสายน้ำอิงไหลพาดผ่านคดเคี้ยวทอดเป็นแนวยาวไปตลอด จากทิศเหนือจรดขอบกว๊านฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประกอบกับมีหนองน้ำน้อยใหญ่หลายแห่งและร่องน้ำหลายสายที่ไหลลงมาจากขุนเขาดอยหลวงแล้วเชื่อมติดต่อถึงกัน ทำให้พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำแห่งนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งนักและมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่เป็นชุมชนนานนับตั้งแต่โบราณ
ภาพพาโนรามากว๊านพะเยายามเย็น
บริเวณกลางกว๊านพะเยา มีการพบซากประวัติศาสตร์เป็นวัดโบราณที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช มีชื่อว่า "วัดติโลกอาราม" ในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชาจะมีการเวียนเทียนกลางน้ำรอบวัดเป็นแห่งเดียว
ในโลก
ในโลก
วัดอนาลโยทิพยาราม (ดอยบุษราคัม)
วัดอนาลโย ดอยบุษราคัม ตั้งอยู่หมู่บ้านสันป่าบง หมู่ที่ 6 ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ทั้งหมด 2,800 ไร่ เริ่มการก่อสร้างโดย พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมังคโล ขณะท่ารอยู่วัดรัตวนาราม ท่านมีปรากฎการณ์เห็นทรายทองไหลลงมาสู่วัดเป็นสายรังสี แสงของทรายทองที่ไหลพรั่งพรูราวกับสายน้ำนั้นอาบวัดทั้งวัดแทบจะกลายเป็นวัดทองคำ ท่านมองทวนลำแสงสีทองไป ก็เห็นเขาที่อยู่อีกฟากหนึ่งของกว๊านพะเยานั้นเอง จากนั้นได้มีโยมอาราธนาไปดู สถานที่สำคัญและแปลกประหลาดเพื่อจะได้สร้างสำนักสงฆ์ไว้เป็นที่บำเพ็ญกุศลของชาวบ้าน คือชาวบ้านมักจะเห็นแสงสว่างเป็นดวงกลมล่องลอยไปมาอยู่บนดอยสูง แสงนั้นดูสว่างเรื่องรองบางทีก็สว่างจ้าเป็นสีเหลืองสดอาบทั้งดอยราวกับเป็นดอยทองคำ เหตุการณ์เหล่านี้มักปรากฎในวันสำคัญทางพุทธศาสนา เช่นวันพระ 8 หรือ 15ค่ำ เป็นต้น หลังจากที่พิจารณาดูสถานที่แล้วเห็นว่าเป็นสถานที่สวยเหมาะสมแก่การเจริญเมตตาภาวนาเป็นอย่างยิ่ง ควรที่จะสร้างให้เป็นสถานที่พักปฏิบัติธรรม
สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เป็นองค์ประธานพิธีวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2525 เวลา 12.45 นาฬิกา จากนั้นก็ได้สร้างสิ่งต่างๆมาจนปรากฏเห็นอยู่ในปัจจุบัน แต่มีอุปสรรคสำคัญอยู่ประการหนึ่งที่ทำให้วัดต้องขบคิดหนักคือ “การขาดแคลนน้ำ” ระหว่างที่ท่านกำลังครุ่นคิดหาทางแก้ไข วันหนึ่งท่านพระอาจารย์ไพบูลย์ด้รับอาราธนานิมนต์ไปเจริญพระพุทธมนต์ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมหาราชวัง ขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนเครื่องจตุปัจจัยไทยธรรมมาถึงท่านอาจารย์ทรงมีพระราชปฏิสันถารว่า “ทราบข่าวว่าท่านอาจารย์ได้ไปสร้างสำนักสงฆ์บนเขาสูงที่จังหวัดพะเยาทางฟากกว๊าน คงจะขาดแคลนน้ำ ไม่เป็นไรผมจะปรึกษากรมชลประทานให้”
วันพุธที่ 18 มกราคม 2527 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมนมัสการพระอาจารย์ไพบูลย์ สุมังคโล หัวหน้าสำนักสงฆ์อนาลโยเป็นการส่วนพระองค์ ในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้น ทรงสราญพระราชหฤทัยเป็นที่ยิ่ง ทรงสนทนาธรรมแล้วทรงเสวยพระกระยาหารค่ำ ณ ที่ประทับรับรองของสำนักสงฆ์อนาลโย ประทับอยู่ตั้งแต่เวลา 15.00 น. จนถึงเวลา 20.00 น. จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับและได้ทรงมีพระราชดำริให้กรมชลประทาน จัดสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ต๋อม และอ่างเก็บน้ำห้วยทับช้างเพื่อผันน้ำมาใช้บนสำนักสงฆ์ และจ่ายไปยังไร่นาของประชาชน จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมเป็นที่สุด
กระทรวงศึกษาธิการและมหาเถรสมาคม อนุญาตให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2530 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้วัดอนาลโย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม 2531 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2532พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชฯสยามกุฏราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงประกอบพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุทรงตดลูกนิมิตอุโบสถและทรงเปิดวัดอนาลโยโดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างสิ่งทั้งหมดรวม 6 ปี เศษ
วัดพระเจ้านั่งดิน
ตามตำนานกล่าวไว้ว่า พระยาผู้ครองเมืองพุทธรสะได้ค้นพบประวัติ(ตำนาน) เมื่อนมจตุจุลศักราช 1,213 ปีระกา เดือน 6 วันจันทร์ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกโปรดเมตตาสรรพสัตว์โดยทั่วทางอภินิหารจนพระองค์ได้เสด็จมาถึงเขตเวียงพุทธรสะ (อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน) พระพุทธองค์ได้ประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระ (พระธาตุดอยคำในปัจจุบัน) ทรงแผ่เมตตาประสาทพรตรัสให้พระยาคำแดงเจ้าเมืองพุทธรสะในขณะนั้น สร้างรูปเหมือนพระองค์ไว้ยังเมืองพุทธรสะแห่งนี้ ครั้งเมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสจบก็ปรากฏว่าได้มีพระอินทร์หนึ่งองค์ พระยานาคหนึ่งตน ฤาษีสององค์ และพระอรหันต์สี่รูป ช่วยกันเนรมิตเอาดินศักดิ์สิทธิ์จากเมืองลังกาทวีปเป็นเวลา 1 เดือนกับอีก 7 วัน จึงแล้วเสร็จ ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้โปรดสัตว์ทั่วถึงแล้ว จึงเสด็จเข้าสู่เมืองพุทธรสะอีกครั้ง ทรงเห็นรูปเหมือนที่โปรดให้สร้างขึ้นนั้นเล็กกว่าองค์ตถาคต พระพุทธองค์จึงตรัสให้เอาดินมาเสริมให้ใหญ่เท่าพระพุทธองค์ จึงได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาลรูปปั้นจำลองได้เลื่อนลงจากฐานชุกชี(แท่น) มากราบไหว้พระพุทธองค์ตรัสกับรูปเหมือนพระพุทธองค์ที่ได้สร้างขึ้นนั้นว่า “ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของกูตถาคตให้ครบ 5,000 พระพรรษา” พระรูปเหมือนจึงได้น้อมรับเอาแล้วประดิษฐานอยู่ ณ พื้นดินที่นั้นสืบมา ด้วยเหตุนี้พุทธบริษัทจึงหมายเหตุเอาพระรูปเหมือนของพระพุทธองค์ว่า "พระเจ้านั่งดิน" เป็นที่น่าสังเกตว่า พระเจ้านั่งดินในปัจจุบันนี้ไม่ได้ประทับฐานชุกชีหรือพระแท่นเหมือนกับพระพุทธรูปในวิหารวัดอื่นๆทั่วไป มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานสืบกันมาว่า เคยมีชาวบ้านได้พากันสร้างฐานชุกชีแล้วได้อัญเชิญพระเจ้านั่งดินขึ้นประทับ แต่ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ฟ้าได้ผ่าลงมาที่กลางพระวิหารถึง 3 ครา พุทธบริษัททั้งหลายจึงอาราธนาพระเจ้านั่งดินมาประดิษฐานบนพื้นดินดังเดิมตราบจนทุกวันนี้
วัดนันตาราม
วัดนันตาราม ตั้งอยู่บริเวณตลาดเทศบาลตำบลเชียงคำ ไม่ปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด เป็นวัดประจำชุมชนชาวไทยใหญ่ เดิมเรียก วัดจองคา เพราะมุงด้วยหญ้าคา (คำว่า จอง เป็นภาษาไทยใหญ่ หมายถึงวัด) พุทธศาสนิกชนชาวไทยใหญ่เป็นผู้สร้าง โดย พ่อหม่อง โพธิ์ขิ่น บริจาคที่ดินเนื้อที่ 3 ไร่เศษ เป็นสถานที่ก่อสร้าง พ่อเฒ่าอุบล เป็นประธานในการก่อสร้างจนสำเร็จเรียบร้อย มีฐานะเป็นอารามหรือสำนักสงฆ์ ประชาชนทั่วไปนิยมเรียก วัดจองเหนือ เพราะอยู่ทางทิศเหนือของเทศบาลเชียงคำ สร้างวิหารไม้ในปี พ.ศ. 2467 แม่นางจ๋ามเฮิง ได้บริจาคที่ดินเนื้อที่ 5 ไร่ 1 งาน 72 ตารางวา สำหรับขยายอาณาเขตของวัด รวมเนื้อที่ทั้งสิ้น 8 ไร่ 1 งาน 72 ตารางวา วิหารหลังปัจจุบัน พ่อเฒ่านันตา (อู๋) วงศ์อนันต์ คหบดีชาวไทยใหญ่ผู้มีศรัทธาแรงกล้าที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ได้บริจาคทรัพย์เพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะและเป็นเจ้าภาพสร้างวิหารหลังใหม่แทนวิหารที่มุงหญ้าคา โดยว่าจ้างชาวไทยใหญ่มาออกแบบและทำการก่อสร้างเป็นวิหารไม้ทั้งหลัง รูปทรงแบบไทยใหญ่ หลังคาหน้าจั่วยกเป็นช่อชั้น ลดหลั่นกันสวยงามมุงด้วยแป้นเกร็ด (กระเบื้อง ไม้) เพดานประดับประดาด้วยกระจกสีลวดลายวิจิตรพิศดาร ไม้ซ้ำกัน เสาทั้ง 68 ต้นลงรักปิดทอง ค่าก่อสร้างประมาณ 45,000 บาทเศษ อัญเชิญพระประธาน พระประธานในวิหารปัจจุบัน ไม่ทราบว่าสร้างในสมัยใด (คาดว่านำมาจากประเทศพม่า) พ่อเฒ่านันตาได้ว่าจ้างและไหว้วานชาวบ้านประมาณ 80 คน อัญเชิญมาจากวัดจองเหม่ถ่า ซึ่งเป็นวัดร้างในชุมชนไทยใหญ่ เดิมที่อำเภอปง (ปัจจุบันเป็นสถานีอนามัยบ้านดอนแก้ว ตำบลออย อำเภอปง) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย แกะสลักจากไม้สักทอง ทั้งต้นลงสักปิดทอง ทรงเครื่องแบบไทยใหญ่สวยงามมาก ขนาดหน้าตักกว้าง 51 นิ้ว สูงจากฐานถึงยอดเกศา 9 ศอก ประดิษฐานบนฐานไม้ มีแผงไม้กั้นด้านหลังประดับประดากระจกสีที่สวยงาม ประกอบด้วยไม้ฉลุและแกะสลักลายเครือเถา เทวดาและสัตว์ป่าหิมพานต์ การจัดงานฉลองวัดครั้งแรก การปฏิสังขรณ์และก่อสร้างวัดจองคาครั้งใหญ่ใช้เวลาร่วม 10ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2477 พ่อเฒ่า นันตา (อู๋) ได้เป็นประธานจัดงานฉลองครั้งใหญ่ขึ้นระหว่างวันที่ 1-15 มีนาคม 2477 15วัน 15 คืน นอกจากการทำบุญและจัดมหรสพสมโภสแล้ว ยังมีการตั้งโรงทาน แจกจ่ายวัตถุทานแก่ยาจกวณิพกและคนยากจนทั่วไปจำนวนมากอีกด้วย นับเป็นมหากุศลที่ยิ่งใหญ่และเป็นครั้งแรกของวัดจองคำ พ่อเฒ่านันตา (อู๋) ต้นตระกูล วงศ์อนันต์ คหบดีที่มีจิตใจศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ตั้งใจปฏิบัติตาม พระธรรมคำสอนมิได้ขาด มีความเพียรในการรักษาอุโบสถศีล นอนวัดตลอดฤดูพรรษา ทั้งยังเสียสละบริจาคทรัพย์ เป็นเจ้าศรัทธาในการปฏิสังขรณ์เสนาสนะและสร้างวิหารถวายเป็นสมบัติในพุทธศาสนา ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนชาวไทยใหญ่แ ละประชาชนทั่วไปเป็นพ่อจองตะก่านันตา (คำว่า พ่อจอง หมายถึง ผู้สร้างวัด/ ตะก่า หมายถึง ผู้ที่รักษาอุโบสถศีลและนอนวัดตลอดพรรษา) เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีและเป็นอนุสรณ์ของพ่อเฒ่านันตา (อู๋) จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดจาก วัดจองคา เป็น วัดนันตาราม เป็นเกียรติแด่ท่านและตระกูล “วงศ์อนันต์”
โบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญ
1. วิหารไม้ รูปทรงแบบไทยใหญ่ สร้าง พ.ศ. 2468
2. พระพุทธรูปประธาน ปางมารวิชัย ไม้แกะสลักศิลปไทยใหญ่ อัญเชิญมาประดิษฐาน พ.ศ.2476
3. เจดีย์แบบไทยใหญ่ สร้างด้วยอิฐถือปูน รูปทรงแปดเหลี่ยม สูง 9 ศอก สร้าง พ.ศ. 2500
4. พระอุโบสถ สร้างด้วยอิฐถือปูน รูปทรงไทยใหญ่ สร้าง พ.ศ. 2515
5. พระพุทธรูปเกสรดอกไม้ สร้างจากไม้หอมนานาชนิดในเมืองต่องกี ประเทศพม่า นำมาตากแห้งและบดให้ละเอียด ผสมกับยางรัก เถ้าฟางเผ่าคลุกกับดินจอมปลวกหรืออิฐปูนปั้นเป็นพระพุทธรูปลงรักปิดทอง พ่อเฒ่าผก่า หัวอ่อนแม่เฒ่าป้องสุมาลย์เจริญ สร้างถวาย
6. พระเจ้าแสนแซ่ พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์สมัยเชียงแสน ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง /9 นิ้ว สูง 24 นิ้ว แม่เฒ่าบัว ได้บูชามาจากพ่อเฒ่าส่างติ (พี่ชาย) ในราคา1ชั่ง (80 บาท) นำมาถวายวัด (ปลัดอำเภอท่านหนึ่งว่าจ้างเกวียนชาวบ้านในราคา75สตางค์ บรรทุกมาจาก บ้านถ้ำ ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ นำมาตั้งไว้ใต้ถุนเรือนพ่อเฒ่าส่างติ) กรมศิลปากร ได้จดทะเบียนรับรองเป็นวัตถุโบราณไว้แล้ว
7.พระพุทธรูปหินขาว (หยกขาว) ศิลปแบบพม่า หน้าตักกว้าง 14 นิ้ว สูง 18 นิ้ว แม่คำหล้า วาระกุล สร้างถวาย
บ้านไทลื้อเชียงคำ
ชาวไทลื้อในอ.เชียงคำมีวิถีชีวิตอย่างเรียบง่าย บ้านเรือนตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำ เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวไทลื้อคือ จะมีบ่อน้ำไว้ประจำในแต่ละบ้าน และทุกบ้านจะมีการปลูกพืชผักสวนครัวอยู่ในบริเวณบ้านด้วย ชาวไทลื้อจะประกอบอาชีพทำไร่ทำนา เมื่อหมดฤดูทำนาแล้ว ผู้หญิงชาวไทลื้อจะพากันทอผ้า ถือว่าผ้าทอไทลื้อมีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่แพ้จากผ้าทอที่ใดๆ บ้านเรือนไทลื้อที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง มีให้แวะชม ตั้งอยู่บนเส้นทางระหว่างสถานีตำรวจเชียงคำมุ่งหน้าสู่วัดพระธาตุสบแวน ผ่านตลาดไปเล็กน้อย จะพบกับเรือนไทลื้อที่สมบูรณ์แบบแห่ง อ.เชียงคำ อยู่ทางซ้ายมือ
ศูนย์วัฒนธรรมไทยลื้อ
ศูนย์วัฒนธรรมไทยลื้อ ตั้งอยู่ที่วัดหย่วนในอำเภอเชียงคำ จัดตั้งเป็นศูนย์แสดงผลงานทางศิลปวัฒนธรรม และฝึกอาชีพของชาวไทยลื้อ โดยเฉพาะผ้าของชาวไทยลื้อที่มีลวดลายและสีสันสดใส ในอดีตชาวไทยลื้อมีถิ่นอาศัยอยู่ในเขตสิบสองปันนามณฑลยูนาน ประเทศสาธารณะรัฐประชาชนจีน มีพื้นที่ประมาณ 25,000 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเขามีที่ราบแคบๆอยู่ตามหุบเขาและลุ่มแม่น้ำอันเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยและที่ทำมาหากินของชาวไทลื้อ โดยเฉพาะการทำนาที่ลุ่มเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป มีแม่น้ำโขงเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านแคว้นสิบสองปันนา ซึ่งชาวไทยลื้อเรียกว่า “ แม่น้ำของ ” ในปี พ.ศ. 2399เจ้าสุริยพงษ์ ผริตเดช ผู้ครองนครน่านได้อพยพมามาอยู่ที่บ้านท่าฟ้าเหนือและท่าฟ้าใต้อำเภอเชียงม่วน หลังจากนั้นมีบางส่วนได้อพยพมาอยู่ที่อำเภอเชียงคำ ชาวไทลื้อมีอุปนิสัยรักสงบ ขยันอดทน นอกจากนั้นยังเป็นผู้ที่อนุรักษ์วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้อย่างดี เช่น วัฒนธรรมการแต่งกาย เป็นต้น
ภูลังกา
ภูลังกา ตั้งอยู่ที่ ต.ผาช้างน้อย อ.ปง เป็นภูเขาสูงสุดในเทือกเขาสันปันน้ำเขตแดนไทย-ลาว ต้นกำเนิดแม่น้ำยม มีพื้นที่ประมาณ 7,800 ไร่ สภาพพื้นส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขาที่มากไปด้วยต้นไม้ขนาดใหญ่ แม้ภูลังกาจะมีพื้นที่ขนาดเล็กเมื่อเทียบกับผืนป่าอื่นๆ แต่ว่าก็เป็นประเภทเล็กพริกขี้หนู หรือประเภทเล็กดีรสโต ที่เต็มไปด้วยของดีซ่อนกายอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็น พืชพันธุ์ไม้หายาก สัตว์ป่ากว่า 100 ชนิด รวมถึงนกประจำถิ่นและนกอพยพกว่า 200ชนิด
นอกจากนี้ในพื้นที่วนอุทยานภูลังกายังมีสิ่งที่น่าสนใจให้เที่ยวชมอีกมากมายอย่าง“ห้องเรียนธรรมชาติ”ที่มีการจัดแสดงพันธ์ไม้หายาก สมุนไพร กล้วยไม้ป่า และไม้ที่น่าสนใจไว้ให้ชมกัน รวมถึงยังมีเส้นทางเดินป่าระยะทางประมาณ 3 กม. 2 เส้นทาง ไว้ให้ผู้สนใจเดินศึกษาธรรมชาติ "น้ำตกภูลังกา"เป็นน้ำตก 2 ชั้น มีน้ำใสไหลเย็นตลอดทั้งปี แต่จะสวยงามเป็นพิเศษในช่วงหน้าฝน "ป่าก่อโบราณ" เป็นป่าต้นก่อขนาดใหญ่ ที่สามารถเดินดูนก ดอกไม้ป่า และ
กล้วยไม้ป่าได้ด้วย
กล้วยไม้ป่าได้ด้วย
ในขณะที่เชิงภูบริเวณบ้านสิบสองพัฒนา ก็มี “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปังค่า” บนพื้นที่สวยงามเต็มไปด้วยแปลงไม้ดอกเมืองหนาว ไม้ประดับ ผักสดปลอดสารพิษ ให้ชมและเลือกซื้อเป็นของฝากกลับบ้าน ส่วนที่หมู่บ้านด้านล่างก็มีศูนย์วัฒนธรรมชาวเมี่ยน(เย้า)และวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ชาวเมี่ยนให้ได้สัมผัสกันหรือใครจะไปชมวิวสวยๆของแอ่งกระทะธรรมชาติ ที่เป็นจุดชมทะเลหมอกยามเช้าทะเลหมอกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง พร้อมสัมผัสกับ
พาสสปอร์ตโบราณที่(ว่ากันว่า)ยาวที่สุดในโลก และจิบกาแฟ ชาร้อนๆ เลือกซื้อสินค้าพื้นเมือง และเข้าพักในบรรยากาศบ้านชาวเมี่ยนที่ภูลังการีสอร์ท ส่วนใครอยากสัมผัสวิถีชุมชนและเข้าพักแบบโฮมสเตย์ที่นี่ก็มีโฮมสเตย์บ้านน้ำคะเป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจ ส่วนที่ถือเป็นพระเอกระดับรางวัลออสการ์ของภูลังกาก็เห็นจะเป็นสภาพของขุนเขาที่มีลักษณะเป็นสันเป็นแนวสวยงาม สามารถเดินขึ้นไปชมอาทิตย์อัสดงและชมวิวทิวทัศน์บนนั้นได้สวยงามกว้างไกล โดยสิ่งที่ถือเป็นไฮไลท์ก็คือ การชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกบนยอดภูลังกา นั่นเอง
พาสสปอร์ตโบราณที่(ว่ากันว่า)ยาวที่สุดในโลก และจิบกาแฟ ชาร้อนๆ เลือกซื้อสินค้าพื้นเมือง และเข้าพักในบรรยากาศบ้านชาวเมี่ยนที่ภูลังการีสอร์ท ส่วนใครอยากสัมผัสวิถีชุมชนและเข้าพักแบบโฮมสเตย์ที่นี่ก็มีโฮมสเตย์บ้านน้ำคะเป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจ ส่วนที่ถือเป็นพระเอกระดับรางวัลออสการ์ของภูลังกาก็เห็นจะเป็นสภาพของขุนเขาที่มีลักษณะเป็นสันเป็นแนวสวยงาม สามารถเดินขึ้นไปชมอาทิตย์อัสดงและชมวิวทิวทัศน์บนนั้นได้สวยงามกว้างไกล โดยสิ่งที่ถือเป็นไฮไลท์ก็คือ การชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกบนยอดภูลังกา นั่นเอง
ถ้ำผาแดง
ถ้ำผาแดง เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ อยู่ในท้องที่บ้านปางถ้ำ หมู่ที่ 9 ตำบล ร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ 1 (ผาแดง) ประมาณ 1 กิโลเมตร มีความลึกประมาณ 450 เมตร มีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม และตรงเพดานผนังถ้ำมีรอยจุดๆสีน้ำตาลเข้มอยู่ทั่วบริเวณในถ้ำ ซึ่งยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด ถ้ำผาแดงแห่งนี้อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูซางประมาณ 47กิโลเมตร
น้ำตกภูซาง
น้ำตกภูซาง ธารน้ำใสไหลเอ่อล้นจากตาน้ำผุด ตกลงมาจากผาหินปูนสู่ธารน้ำใสไหลรองรับอยู่เบื้องล่าง ใครจะเชื่อว่า น้ำที่ตกลงมามีอุณหภูมิถึง 35 องศาเซลเซียส ที่หากใครได้มายืนอาบ ก็จะรู้สึกราวกับว่าได้ อาบน้ำอุ่นจากฝักบัวขนาดมหึมาในธรรมชาติ "น้ำตกภูซาง " เป็นน้ำตกชั้นเดียว ซึ่งตกลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง สูงประมาณ 25 เมตร จุดเด่นของน้ำตกภูซางคือ เป็นน้ำตกที่เป็นกระแสน้ำอุ่น มีอุณหภูมิประมาณ 35 องศาเซลเซียส
นอกจากนี้ทางตอนเหนือของน้ำตกภูซางยังมี เส้นทางศึกษาธรรมชาติ มีจุดเด่นอยู่ที่ บ่อน้ำซับอุ่น ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของน้ำตกภูซาง มีลักษณะเป็นธารน้ำอุ่นผุดจากใต้ดิน มีสภาพโดยรอบเป็นพรุน้ำจืด เต็มไปด้วยแมกไม้นานาพรรณที่หาดูได้ยาก
ตัวน้ำตกภูซางอยู่ห่างไปจากที่ทำการอุทยานฯ อีกเพียง 300 เมตร และเส้นทางสายนี้ ( ถนนหมายเลข 1093 ) ยังสามารถเดินทางต่อไปถึง ภูชี้ฟ้า ซึ่งเป็นยอดดอยสูงประมาณ 1,628 เมตร ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ เป็นระยะทาง 45 กิโลเมตร
ตัวน้ำตกภูซางอยู่ห่างไปจากที่ทำการอุทยานฯ อีกเพียง 300 เมตร และเส้นทางสายนี้ ( ถนนหมายเลข 1093 ) ยังสามารถเดินทางต่อไปถึง ภูชี้ฟ้า ซึ่งเป็นยอดดอยสูงประมาณ 1,628 เมตร ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ เป็นระยะทาง 45 กิโลเมตร
** น้ำตกภูซาง เป็นน้ำตกที่มีน้ำอุ่นเพียงแห่งเดียวที่พบในประเทศไทย อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิอากาศ 10 องศาเซลเซียส
No comments:
Post a Comment