สินค้าพื้นเมืองและของฝาก
หมู่บ้านทำครกและโม่หินบ้านงิ้ว
หมู่บ้านทำครกและโม่หินบ้านงิ้ว ตำบลบ้านสาง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เส้นทางเดียว
กับทางไปวัดอนาลโย (เป็นถนนรอบกว๊านพะเยา) และทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมหลังการทำนาคือการทำครก โม่หิน ใบเสมา
และลูกนิมิต เป็นต้น โดยทำเป็นอุตสาหกรรมภายในครอบครัว และส่งไปขายในตัวเมืองพะเยา
หมู่บ้านทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา
หมู่บ้านทำผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาอยู่ที่บ้านสันป่าม่วงใช้เส้นทางเดียวกับทางไปหมู่บ้านทำครกและโม่หิน
ห่างกันประมาณ 2 กิโลเมตรชาวป่าม่วงได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มขึ้นทำเป็นงานอดิเรก ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผักตบชวา
ได้แก่ หมวก กระเป๋า จานรองแก้ว และของประดับตกแต่งต่างๆ
ผ้าทอไทยลื้อ
ผ้าทอไทยลื้อศิลปะและลวดลายบนพื้นผ้าที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองของชาวไทยลื้อแวะไปชมวิธีการทอและซื้อหาได้บริเวณ
วัดพระธาตุสบแวน ยามว่างจากภาระกิจประจำ แม่บ้านจะมา รวมตัวกันทอผ้าที่นี่ นอกจากนั้นยังหาซื้อได้ที่ตลาดนัดบ้านฮวก กิ่งอำเภอภูซาง
ซึ่งจะจัดทุกวันที่ 10 และ 30 ของทุกเดือน
ปลาส้มพะเยา
เป็นอาหารพื้นเมืองเหนือโบราณ ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดพะเยาทำมาจากเนื้อปลา นำมาหมักกับเกลือ ข้าว กระเทียม
โดยไม่ใส่สารกันบูด สามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น ยำ ทอด ย่าง รับประทานได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่จังหวัดพะเยาขึ้นชื่อ
ในเรื่องปลาส้มอร่อยและนิยมนำมาเป็นของฝากให้แก่นักท่องเที่ยวที่แวะมาเยือนจังหวัดพะเยา
กาละแมโบราณ เชียงคำ
กะละแมโบราณในที่นี้เป็นสูตรของชาวไทลื้อ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นขนมหวานที่มีความเป็นมาแต่ยาวนาน
โดยมีที่มาดังนี้ เนื่องด้วยประเพณีงานบวชงานบุญ ของชาวไทลื้อสมัยโบราณ มักนิยมทำขนมปาด ซึ่งเป็นขนมลักษณะ คล้ายกับขนมชั้น
แต่จะนิ่มกว่าซึ่งเป็นขนมที่นิยม ของชาวไทลื้อ แต่ขนมปาดเก็บรักษาได้ไม่นาน แค่ 2 วันก็เน่าเสีย ต่อมาเมื่อมีงานประเพณีสืบสานตำนานไทลื้อ
กลุ่มกะละแมบ้านดอนไชย หมู่ 5 ตำบลหย่วนอำเภอเชียงคำจึงได้รวมกลุ่มกันประมาณ 40 กว่าคนตั้งกลุ่มทำขนมปาด และกวนขนมปาดขาย
ในงานดังกล่าว ซึ่งขายได้ดีมากและแขกที่มาจากต่างจังหวัด ซื้อเป็นของฝากกลับบ้าน แต่เก็บได้ไม่นานเมื่อเสร็จจากงานสืบสานตำนานไทลื้อ
ทางกลุ่มจึงได้ปรึกษากันเพื่อหาวิธีการที่จะเก็บขนมปาดให้มีอายุการเก็บรักษาให้นานขึ้นโดยไม่พึ่งสารเคมี ต่อมากลุ่มฯ ได้ส่งตัวแทนไปอบรม
วิธีการทำขนมต่าง ๆ ที่ YMCA เชียงราย และกลับมาช่วยกันหาวิธีทำขนมกวนซึ่งมีลักษณะคล้ายขนมปาด โดยทำ “กะละแมโบราณ” ขึ้นซึ่งใช้
วิธีกวนเหมือนกัน ส่วนผสมคล้ายกัน ต่างกันตรงที่ขนมปาดใช้แป้งข้าวเจ้ากะละแมโบราณใช้แป้งข้าวเหนียว ขนมปาดมีสีแดงจากน้ำอ้อย
กะละแมมีสีดำ โดยใช้กากมะพร้าวเผาการทำกะละแมโบราณ เน้นย้ำที่ความหอมจากใบตองและกรรมวิธีแบบโบราณ
หมูสวรรค์
หมูสวรรค์ สถานที่ตั้ง;เลขที่ 132 หมู่ที่ 2 ตำบลคือเวียง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา 56120
ที่ติดต่อสั่งซื้อสินค้า;นางทองจ่าน ปิงยศ โทร 0810266140
จุดเด่น ของหมูสวรรค์ คือ
1. มีกลิ่นที่หอม
2. กรอบและอร่อย
3. อาหารสะอาด
4. ถูกหลักอนามัย
ข้าวหอมมะลิแท้ 100%
อาชีพการทำนา เป็นอาชีพที่ชาวอำเภอจุนทำกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษทุกยุคทุกสมัย ซึ่งเป็นอาชีพที่คนในชนบทต้องทำ
เพื่อใช้เป็นอาหารหลักประจำวัน และทำกับเกือบทุกครัวเรือน ในสมัยก่อนยังไม่เครื่องจักรอุตสาหกรรมมาใช้ในนา ต้องใช้แรงงานคน
ในการทำทุกขั้นตอน และใช้สัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควายช่วยไถนา และจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้จะมีเครื่องจักรเข้ามามีบทบาทในการทำนาแต่ก็มีชาวนา
ในชนบทก็ยังใช้แรงงานคนในการลงแขกทำนาและใช้มูลสัตว์ ผลิตเป็นปุ๋ยเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการทำนา แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่
แบบเรียบง่ายแบบพี่แบบน้อง พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีแบบดั้งเดิมเอาไว้อำเภอจุน
ก็เป็นอำเภอหนึ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา และมีรายได้จากการทำนาเป็นหลักและข้าวที่ปลูกคือข้าวหอมมะลิ ซึ่งมีพื้นที่สำหรับปลูก
มากกว่า 70 % ของพื้นที่ทั้งหมดเพราะข้าวหอมมะลิเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด เนื่องจากประธานกลุ่มปลูกข้าวหอมมะลิ
อำเภอจุนได้ส่งข้าว หอมมะลิเข้าประกวดได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ได้รับโล่รางวัลจากสมเด็จพระบรมโอรสสาธิราชสยามบรมราชกุมาร
ในแรกนาขวัญประจำปี 2543 ตั้งแต่นั้นมาจึงทำให้เกษตรกรในพื้นที่อำเภอจุนจึงมีการตื่นตัวที่จะใช้พื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิเพิ่มขึ้น เนื่องจาก
ข้าวมีคุณภาพดีเมื่อนำมาแปรรูปเป็นข้าวสารสีของข้าวสาร เมล็ดจะมีสีใส เมล็ดสวย เมื่อนำไปหุง ข้าวจะขึ้นหม้อดีเมื่อข้าวสุกแล้วจะหอม
เมล็ดสวย อ่อนนุ่ม ข้าวไม่แฉะ จึงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งตลาดภายในจังหวัดและต่างจังหวัด
ไวน์ห้วยข้าวก่ำ
อำเภอจุนมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยข้าว และผลไม้พื้นบ้านซึ่งเกิดจากธรรมชาติมีจำนวนมาก ราคาผลผลิตด้านการเกษตรตกต่ำ
ไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิตสมาชิกกลุ่มจึงมีแนวคิดที่จะเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้านการเกษตรให้คุ้มกันต้นทุนการผลิตโดยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น
ที่เป็นมรดกตกทอดของท้องถิ่นมาทดลองทำต่อเนื่องหลายครั้งจนมีรสชาติเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเครือญาติจึงขยายออกไปยังเพื่อนบ้านและ
สมาชิก จึงเริ่มจัดตั้งกลุ่มขึ้นโดยการนำผลผลิตด้านการเกษตรมาแปรรูปเพื่อให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งไวน์ข้าวก่ำเป็นข้าวที่ปลูกกันมากและ
เป็นชื่อของตำบลห้วยข้าวก่ำจึงตั้งชื่อว่าไวน์ข้าวก่ำและยังมีผลไม้ชนิดอื่นๆที่นำมาผลิตอีกจำนวนมาก เช่น ไวน์ผลไม้รวม ไวน์กระชายดำ เป็นต้น
No comments:
Post a Comment